วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคหืด (Asthma) ป้องกันได้ด้วย วินฟิชออย(WIN FISH OIL)

     โรคหืด (Asthma) ป้องกันได้ด้วย วินฟิชออย(WIN FISH OIL)
           โรคหืด (Asthma) เป็นโรคพบในเด็กมีมากถึง 10-12% ของเด็กทั้งหมด ส่วนผู้ใหญ่พบน้อยกว่า คือประมาณ 6.9%  ผู้ป่วยโรคหืดจะมีอาการหอบเหนื่อยเป็นๆหายๆ สมรรถภาพในการทำงานของปอดลดลง ทำให้เหนื่อยง่ายกว่าคนปกติ บางครั้งจะมีอาการหอบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน หรือต้องเข้านอนรับการรักษาในโรงพยาบาล ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลง
        โรคหืดเกิดขึ้นได้อย่างไร?
        ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหืด ได้แก่ กรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม เช่นถ้าพ่อแม่เป็นโรคหืด ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคหืดเพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคหืดที่สำคัญ ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสุนัข ขนแมว เป็นต้น มีการศึกษาพบ ว่า บ้านที่พ่อและ/หรือแม่สูบบุหรี่ ลูกมีโอกาสเป็นโรคหืดมากกว่าบ้านที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่
       โรคหืดมีอาการอย่างไร?
       อาการสำคัญของผู้ป่วยโรคหืดคือ อาการไอ อาการหอบ และหายใจมีเสียงหวีด อาการไอมักจะไอแห้งๆ หรืออาจมีเสมหะเล็กน้อย สีขาวใส ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆหายๆ อาการมักเป็นมากในเวลากลางคืน หรือ เวลาที่สัมผัสสิ่งกระตุ้น (สารก่อภูมิแพ้) เนื่องจากหลอดลมผู้ป่วยโรคหืดไวต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ ดังนั้นเวลาสัมผัสสิ่งกระตุ้น หลอดลมจะหดตัวทำให้หลอดลมตีบ ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการ ไอ หอบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเราเรียกว่า การจับหืด
       อาการหอบหายใจลำบาก และมีเสียงหวีดนี้ บางทีก็อาจทุเลาหายไปได้เอง หรือดีขึ้นเมื่อกินยาหรือพ่นยาขยายหลอดลม แต่ถ้าหลอดลมตีบมากผู้ป่วยก็จะมีอาการมากจนทำงานปกติไม่ไหว ต้องหยุดงานและต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาล
        สิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหืด หอบได้ มีหลายอย่างเช่น
      -      สารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสุนัข ขนแมว ไรฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้
      -      การสัมผัสความร้อน-เย็น เช่น การรับประทานไอศกรีม หรือเข้าห้องแอร์
      -      การออกกำลังกาย การหัวเราะมากๆ
      -      มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เครียด
      -      การเป็นไข้หวัด หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก ไซนัส ลำคอ ท่อลม)
      -      การรับประทานยาบางตัว เช่น ยากลุ่มแอสไพริน และ ยาต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDs) และยาลดความดันโลหิตกลุ่ม บีตา บลอกเกอร์ (Beta-blocker) เช่น ยาโปรปาโนโลล (Propanolol) เป็นต้น
           โรคหืดมีวิธีรักษาอย่างไร?
           หลักการรักษาโรคหืดในปัจจุบัน เราทราบว่าสาเหตุของโรคหืด คือมีหลอด ลมอักเสบ ซึ่งการอักเสบชนิดไม่ได้เกิดจากติดเชื้อ ทำให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น ดังนั้นเวลาสัมผัสสิ่งกระตุ้น หลอดลมจะตีบ ทำให้เกิดการหอบ หายใจมีเสียงหวีด เรียกว่าจับหืด เมื่อเรารักษาหลอดลมอักเสบให้ดีขึ้น หลอดลมก็จะไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้น พอสัมผัสสิ่งกระตุ้นก็จะไม่หอบ คนไข้โรคหืดก็จะกลับมาเป็นคนปกติได้
          เป้าหมายการรักษาในปัจจุบัน คือทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีชีวิตเช่นคน ปกติ นั่นคือ สามารถควบคุมโรคให้สงบได้ ป้องกันการกำเริบของโรค ยกสมรรถภาพปอดให้เป็นปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตเช่นคนปกติ หลีกเลี่ยงภาวะแทรก ซ้อนจากการใช้ยา และลดการเสียชีวิตจากโรคหืด
         โรคหืดรักษาหายไหม?
        โรคหืดสามารถรักษาจนผู้ป่วยมีชีวิตเช่นคนปกติได้ไม่ยาก โดยการให้ยารักษาซึ่งได้แก่ยาพ่นเสตียรอยด์ เมื่อใช้ยาพ่นเสตียรอยด์เป็นเวลานานๆ เช่น 1-3 ปี จะทำให้การอักเสบของหลอดลมลดลงมาก ทำให้หลอดลมไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ผู้ป่วยก็จะไม่มีอาการได้ ซึ่งเรียกว่าโรคหืดอยู่ในระยะสงบ ทั้งนี้ ในโรคระยะนี้ ผู้ ป่วยสามารถหยุดยาได้ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการหอบและผู้ป่วยไม่ต้องใช้ยา
        ดังนั้น ผู้ป่วยจะพูดว่าหายจากโรคหืดแล้ว แต่แพทย์จะไม่เรียกว่า โรคหืดหาย แพทย์จะเรียกว่า โรคหืดอยู่ในภาวะสงบ ซึ่งอาจจะสงบไปนานเท่าไหร่ก็ได้ ขึ้นกับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด
        ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคหืด หอบ ได้ด้วย วิน ฟิช ออย 1000
   วิธีรับประทาน วิน ฟิช ออย 1000
  - ผู้ใหญ่ 1-3 เม็ด ต่อ วัน อาจเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพ
     หากรับประทานน้ำมันปลาเป็นประจำ วันละ 1 – 3 แคปซูล
    จะได้คุณประโยชน์จากน้ำมันปลา วันละ 1 – 3 กรัม
Fish Oil 1000
    -สารสกัดธรรมชาติจากปลาทะเลลึกในน้ำเย็นจัดของมหาสมุทรบริเวณขั้วโลกเหนือและนอร์เวย์
   -คุณภาพสูง เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้แก่ EPA และ DHA
   -1 แคปซูล = น้ำมันปลา 1,000 มิลลิกรัม (1 กรัม) มีปริมาณ EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม
   ปริมาณและราคา
  ขวดขนาด 30 แคปซูล  ราคา    630 บาท
  ขวดขนาด 60 แคปซูล  ราคา 1,120 บาท
สั่งซื้อที่
   คุณ วีระชัย  ทองสา  โทร. 084-6822645 , 085-0250423
         อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น