วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ป้องกันด้วย วินฟิชออย(WIN FISH OIL)

                    โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
      โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นหนึ่งในโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ถูกบรรยายไว้ครั้งแรกโดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ Alois Alzheimer ในปี พ.ศ. 2499 ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการสำคัญ คือ ความจำเสื่อม หลงลืม มีพฤติกรรมและนิสัยเปลี่ยนไป อาการจะดำเนินไปอย่างช้าๆ แต่ค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเสียชีวิตในที่สุด ไม่มีวิธีป้องกันหรือวิธีสำหรับรักษาให้หายได้
     โรคอัลไซเมอร์จะพบในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบอัตราการเป็นโรคมากขึ้น โดยในช่วงอายุ 65-69 ปี พบอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 3 คนต่อพันคนต่อปี แต่หากเป็นช่วงอายุ 85-89 ปี จะพบสูงถึง 40 คนต่อพันคนต่อปี พบได้ในทุกเชื้อชาติ เพศหญิงพบมากกว่าเพศชายเล็กน้อย อาจเนื่องจากเพศหญิงมีอายุยืนยาวกว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปีหลังอายุ 60 ปี
     สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
     ผู้ป่วยประมาณ 7% มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และสามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เหลือไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่พบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ดังนี้ คือ อายุที่มากขึ้น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ เคยประสบอุบัติเหตุที่สมอง หรือสมองได้รับบาดเจ็บ เป็นโรคอ้วน เป็นโรคเบาหวาน (เพิ่มความเสี่ยงขึ้นประมาณ 3 เท่า) เป็นโรคความดันโลหิตสูง และเป็นโรคไขมันในเลือดสูง แต่ระดับการศึกษาและระดับสติ ปัญญาไม่มีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค
     โรคอัลไซเมอร์มีอาการอย่างไร?
     อาการของโรคนี้จะค่อยเป็นค่อยไป และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด โดยคร่าวๆ จะแบ่งอาการเป็นระยะต่างๆ ดังนี้
     1. ระยะก่อนสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เล็กน้อย (Mild cog nitive impairment) มีปัญหาในการจดจำข้อมูลที่เพิ่งเรียนรู้มาไม่นาน หรือไม่สามารถรับข้อ มูลใหม่ๆได้ แต่โดยทั่วไปยังสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ยังตัดสินใจทำในสิ่งต่างๆได้ ยกเว้นเรื่องที่สลับซับซ้อน
     2. สมองเสื่อมระยะแรก ผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำในระยะสั้น ความจำใหม่ หรือความจำที่เพิ่งเรียนรู้มา เช่น ลืมว่าเก็บกุญแจไว้ที่ไหน ลืมนัด กินยารักษาโรคประจำตัวซ้ำ ถามซ้ำ พูดซ้ำ ส่วนความทรงจำในระยะยาวที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของผู้ป่วย เช่น เกิดที่จังหวัดไหน เรียนจบอะไรมา รวมทั้งความจำที่เป็นความรู้ทั่วไป เช่น ไฟแดงหมายถึงให้หยุดรถ และความจำที่เป็นความจำโดยปริยาย (ความจำของร่างกายว่าทำสิ่งต่างๆอย่างไร เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหาร) ยังพอจำได้เป็นปกติ
    3.สมองเสื่อมระยะปานกลาง นอกจากสูญเสียความทรงจำในระยะสั้นแล้ว ความจำในระยะยาว และความรู้ทั่วไปก็จะค่อยๆบกพร่องไป ผู้ป่วยจะจำชื่อและหน้าตาของเพื่อนๆไม่ได้ และก็อาจจะจำคนในครอบครัวไม่ได้ หรือแม้กระทั่งคู่ชีวิตของตนเอง ก็จำไม่ได้ว่าเป็นใคร
       การพูดและการใช้ภาษาจะบกพร่องชัดเจน เช่น จะไม่สามารถนึกคำเรียกชื่อสิ่งของที่มองเห็นอยู่ตรงหน้าได้ (เรียกว่า Agnosia) หรือใช้ศัพท์คำอื่นมาเรียก  ผู้ป่วยจะมีอารมณ์สับสน วิตกกังวล กระวนกระวาย หงุดหงิด โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน
    4. สมองเสื่อมระยะสุดท้าย ความทรงจำในระยะสั้น ความทรงจำในระยะยาว ความรู้ทั่วไป และกระทั่งความจำที่เป็นความจำโดยปริยาย (ความจำของร่างกายว่าทำสิ่งต่างๆอย่างไร เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหาร) ก็จะสูญเสียไป การใช้ภาษาของผู้ป่วยจะลดลงอย่างมาก อาจพูดเพียงแค่วลีง่ายๆ หรือคำเดี่ยวๆ จน กระทั่งไม่สามารถพูดได้
       โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 8-10 ปี นับตั้งแต่มีอาการ ผู้ป่วยบางคนอาจมีการดำเนินของโรคเร็วกว่านี้ และบางคนมีอาการดำเนินช้ากว่านี้ได้
       ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้ด้วย วิน ฟิช ออย 1000
   วิธีรับประทาน วิน ฟิช ออย 1000
  - ผู้ใหญ่ 1-3 เม็ด ต่อ วัน อาจเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพ
     หากรับประทานน้ำมันปลาเป็นประจำ วันละ 1 – 3 แคปซูล
    จะได้คุณประโยชน์จากน้ำมันปลา วันละ 1 – 3 กรัม
     Fish Oil 1000
     -สารสกัดธรรมชาติจากปลาทะเลลึกในน้ำเย็นจัดของมหาสมุทรบริเวณขั้วโลกเหนือและนอร์เวย์
     -คุณภาพสูง เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้แก่ EPA และ DHA
     -1 แคปซูล = น้ำมันปลา 1,000 มิลลิกรัม (1 กรัม) มีปริมาณ EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม
     ปริมาณและราคา
    ขวดขนาด 30 แคปซูล  ราคา    630 บาท
    ขวดขนาด 60 แคปซูล  ราคา 1,120 บาท
    สั่งซื้อที่
   คุณ วีระชัย  ทองสา  โทร. 084-6822645 , 085-0250423
         อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น